#บทลงโทษของการออมเงินผิดที่...ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ !! โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน - ทอมมี่ แอคชัวรี - นักคณิตศาสตร์ประกันภัย กับ 10 เหตุผล ของจังหวะในการซื้อประกันบำนาญ...เดี๋ยวนี้ !!!
.
#TAS19 #รับคำนวณผลประโยชน์พนักงาน #คำนวณผลประโยชน์พนักงาน #อาจารย์ทอมมี่ #นักคณิตศาสตร์ประกันภัย #เกษียณ #เลิกจ้าง #เงินชดเชยสำรอง
.
⭐ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ⭐
▶️ TAS19 คำนวณผลประโยชน์พนักงาน โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ABS
🏅 พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน - ทอมมี่ แอคชัวรี - นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
💬 Inbox : http://m.me/TAS19TommyActuary
🖥 Website : www.actuarialbiz.com
🆔 LINE@ : @abstas19
♾ Link LINE@ : https://line.me/R/ti/p/%40abstas19
📲 Tel. : 082-899-7979 | 087-100-7199
🔔 จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากเรา 🔔
บทลงโทษของการออมเงินผิดที่... ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ
.
กับ 10 เหตุผล ของจังหวะในการซื้อประกันบำนาญ...เดี๋ยวนี้ !!!
.
ข้อ 1. Inventory ของพันธบัตรดอกเบี้ยสูงๆ ในสมัยก่อนที่บริษัทประกันเคยเก็บเอาไว้เริ่มจะหมด ส่วนดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาลตอนนี้ตกลงมาเหลือประมาณ 2% ทำให้คาดเดาได้ว่าจะต้องมีการเพิ่มเบี้ยประกันสูงขึ้น 10% – 20% ในเร็ววันนี้ อย่างแน่นอน (ข้อนี้สำคัญมากครับ - เหมือนสมมติราคาน้ำตาลได้สูงขึ้นมา จริงๆ ราคาขนมเค้กก็ต้องขึ้นตามทันที แต่เพราะมีสต๊อกน้ำตาลที่ราคาเดิมอยู่ จึงรอจนใช้น้ำตาลในสต๊อกหมด แล้วค่อยปรับราคาขนมเค้กขึ้น) ดอกเบี้ยพันธบัตรลงถอยรูดลงมาเกือบครึงปีละ บริษัทประกันจ่ออั้นขึ้นราคากันถ้วนหน้า โดยเฉพาะประกันบำนาญจะขึ้นเบี้ยหนักสุด (เพราะระยะยาว)
.
ข้อ 2. เปลี่ยนเงินก้อนจาก Active income ในวันนี้ ให้กลายเป็น Passive income ในอนาคต ด้วยผลตอบแทนที่การันตี เฉกเช่นพันธบัตร แต่สิ่งที่ทำมากไปกว่านั้นก็คือการ lock อัตราดอกเบี้ยไปจนถึงอายุ 80 - 90 ปี ซึ่งไม่มีพันธบัตรไหนในประเทศไทยที่ยาวถึงขนาดนี้ มีแต่ประกันบำนาญเท่านั้น
.
ข้อ 3. ซื้อไปแล้วจะถอนเงินคืนออกมาเมื่อไรก็ได้ (หรือจะกู้กรมกรรม์ออกมาก็ได้) ซึ่งมีสภาพคล่องได้เปรียบกว่า RMF หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ต้องรอจนถึงอายุ 55 ปี
.
ข้อ 4. ไม่ต้องเสียภาษี 15% ของผลตอบแทนที่ได้รับ เหมือนอัตราดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้อื่นๆ
.
ข้อ 5. ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 200,000 บาท เป็นของแถม ถ้าใครฐานภาษี 20% ก็เท่ากับเหมือนได้ลดเบี้ยไป 20% เป็นการจูงใจการออมที่น่าสนใจมาก
.
ข้อ 6. ตลาดพันธบัตรในอนาคตยังคงดอกเบี้ยต่ำ เหมือนญี่ปุ่นที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี แล้วอัตราดอกเบี้ยไม่เคยสูงขึ้น นับวันมีแต่น้อยลงจนติดลบไปแล้ว ซึ่งถ้าเวลาผ่านไปอีก 20 ปี แล้วพันธบัตรในประเทศไทยคงไม่สามารถกลับมาให้ดอกเบี้ยได้สูงดังเดิมอีกต่อไป (วันหลังจะเอากราฟพันธบัตรไทยย้อนหลังไป 20 ปี และคาดคะเนอีก 20 ปีข้างหน้า มาให้ดูครับ - ถอดรูดลงมาตลอด)
.
ข้อ 7. แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ดอกเบี้ยในตลาดกลับมาสูงกว่าผลตอบแทนการันตีที่แบบประกันบำนาญจะให้ได้ เราก็มีสิทธิ์ refinance เปลี่ยนเงิน Passive income นี้ไปเป็นเงินก้อนอีกครั้ง (ยกเลิกกรมธรรม์เพื่อถอนเงินออกมา) เพื่อที่จะนำไปลงทุนในตลาดพันธบัตรอื่นๆ ได้อีกครั้งนึง (เปรียบเหมือนเราได้ถือ puttable bond เอาไว้ จะใช้ "สิทธิ์" ถอนเงินก้อนเมื่อไรก็ได้ ที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดนั้นดีกว่าของที่เรามีอยู่ในมือ หรือจะเก็บเป็น passive income ต่อไปก็ไม่มีใครว่า) - อันนี้เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค จึงขออนุญาตชี้ช่องไว้ตรงนี้ครับ
.
ข้อ 8. LTF ในจังหวะนี้ ไม่น่าดึงดูดอีกต่อไป เพราะต้องถือไว้ 7 ปี และเสี่ยงต่อภาวะวิกฤตติดดอยได้สูงมาก โดยใครๆ ก็รู้ว่าหุ้นในตอนนี้เป็นราคาที่เหมาะสม (ด้วยปัจจัยที่สภาพคล่องล้นเหลือ และสินทรัพย์อื่นผลตอบแทนต่ำมาก เงินจึงมากองในตลาดหุ้น) แต่ถ้ามองในระยะยาว 3 – 6 ปี จะมองว่าแพงเกินพื้นฐานไปค่อนข้างมาก การลงทุนใน LTF ในจังหวะนี้ จึงต้องเตรียมใจรับสภาพความผันผวนและขาดทุนเมื่อเกิดภาวะวิกฤตในภายภาคหน้าให้ดีๆ
.
ข้อ 9. การถือประกันบำนาญเป็นการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน โดยถ้าคิดง่ายๆ อาจจะคิดว่ามันเหมือนเป็นพันธบัตรชนิดหนึ่งที่ไม่เสียภาษี และในการจัดพอร์ต ถ้ามีเงินอยู่ 1 ล้าน อาจจะจัดได้ดังนี้ (ขึ้นกับการรับความเสี่ยงของแต่ละคน)
a. รับความเสี่ยงสูง - หุ้น 8 แสน / พันธบัตร 1 แสน / เงินสด 1 แสน
b. รับความเสี่ยงปานกลาง -หุ้น 4 แสน/พันธบัตร 5 แสน/เงินสด 1 แสน
c. รับความเสี่ยงต่ำ - หุ้น 1 แสน / พันธบัตร 8 แสน/ เงินสด 1 แสน
.
ข้อ 10. ประกันบำนาญถือเป็น Passive income แบบหนึ่ง ซึ่งถ้าจะให้ดี ควรจะรอบรับปัญหาเงินเฟ้อใน อนาคต 20 – 40 ปีข้างหน้าได้ด้วย
.
.
สุดท้ายนี้ การวางแผนการเกษียณสำหรับคนไทยนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่วันนี้จังหวะมาถึงแล้ว เหมือนประกันชีวิต (จ่ายเงินบำนาญตลอดชีพ) บางแบบเมื่อสมัย 20 ปี ที่แล้ว ที่ใครถือเอาไว้จนถึงตอนนี้ ก็ยังได้ผลตอบแทนเกิน 5% การันตีกันถ้วนหน้า นอนกอด passive income กันสบายจนถึงตอนนี้...
.
.
ปล. อาจารย์ก็กำลังวิเคราะห์แบบประกันบำนาญทุกตัวในท้องตลาด และกำลังหาซื้ออยู่ แนะนำแบบประกันเข้ามาได้ หรือใครสนใจติดต่อหลังไมค์ครับ...
.
ใครอยากได้โปรแกรม excel คำนวณวิเคราะห์แบบประกันบำนาญ เขียน email มาที่ Tommy@actuarialbiz.com ใช้ชื่อ subject ว่า แบบประกันบำนาญ... แล้วเรามาวิเคราะห์กันครับ... ว่าแบบไหนน่าซื้อไว้... พี่จะซื้อด้วย...!!!
เงินสด 100 ล้าน 在 Un+ Chirdpong: อั๋น เชิดพงษ์ iclass CEO Facebook 的最佳解答
เป้าหมายต้องเอาให้ชัด!
นี่เป็นข้อสำคัญอีกข้อของการเขียนเป้าหมาย!
"GOAL MUST BE CLEAR and SPECIFIC"
เพราะว่า!
เป้าหมายที่ไม่ชัด ก็เหมือนขับรถอยู่ท่ามกลางหมอกหนา
เมื่อทางข้างหน้าเบลอๆ
เราก็อาจจะไปผิดที่ หรือไม่ ก็ไปถึงช้ามากๆ
.
เช่น
ถ้าเราตั้งเป้าว่าอยากรวย --> เท่าไหร่ล่ะ ถึงเรียกว่ารวย?
อยากเก่งภาษา --> แบบไหนล่ะ ถึงเรียกว่าเก่งภาษา - เก่งกว่าเพื่อน หรือ เก่งยังไง?
อยากมีความสุข --> แบบไหนล่ะ ที่เรียกว่ามีความสุข - กิน Swensen?
อยากช่วยเหลือคนมากๆ --> ช่วยแบบไหน ช่วยเรื่องเงิน หรือช่วยให้ความรู้ แล้วช่วยกี่คนดี ?
.
เพราะว่า
ระหว่างรวย 1 ล้าน กับ รวย 100 ล้าน
หรือ ช่วยคนได้ 1000 คน กับ 1 ล้านคน
การ FOCUS กับ การ ACTION ของเรามันจะต่างกันอย่างมาก
และเมื่อ FOCUS คนละอย่าง ผลที่ได้ก็คนละแบบ เช่นกัน!
----
เพราะฉะนั้น...
เป้าหมายใครมีแล้ว แต่ยังไม่ชัด!
วันนี้เขียนเพิ่ม เอาให้ชัดไปเลย!
ฉันมีเงิน 100 ล้าน (เงินสด ไม่นับรวมสินทรัพย์อีก 1000 ล้าน) หรือมากกว่า!
ฉันเก่งภาษาพูดสามารถขึ้นพูดบนเวทีได้แบบ Brian Tracy หรือเก่งกว่า!
ฉันจะต้องมี impact ที่จะช่วยเหลือคนโดยการให้ความรู้ได้ 10 ล้านคน หรือมากกว่า!
.
เมื่อหมอกหาย
จุดหมายเราก็ชัด!
เมื่อจุดหมายชัด เราก็ FOCUS! ได้เต็มที่!
เมื่อนั้นแหละ ...
เป้าหมายมันจะเริ่มวิ่งเข้ามาหาเรา !!!
.
อรุณสวัสดิ์ครับ
Un+ Chirdpong (อั๋น เชิดพงษ์)
-------
"Goals must be clear, specific, detailed, and written down. A goal cannot vague or general, like being happy or making more money." Brian Tracy
เงินสด 100 ล้าน 在 อายุน้อยร้อยล้าน - ไม่ว่าใครต่างก็อยาก “จับเงินล้าน” สัก ... - Facebook 的推薦與評價
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS #อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #เงินฝากคนไทย #เงินฝาก #คนไทย #บัญชีออมทรัพย์ #Business #Money #ธนาคารแห่งประเทศไทย #Thailand | ... ... <看更多>